สถานที่ขอหวย วัดหน้าพระเมรุ 2566 อยุธยา ไหว้พระพุทธนิมิตอันศักดิ์สิทธิ์
สถานที่ขอหวย วัดหน้าพระเมรุ 2566 มีชื่อเดิมว่า “วัดพระเมรุราชการาม” แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้างและสร้างในสมัยใด พิจารณาได้ว่า น่าจะเป็นวัดสร้างขึ้นตรงที่ถวายพระเพลิงกษัตริย์องค์ใดองค์หนึ่งต้นสมัยอยุธยา มีแต่เพียงตำนานกล่าวว่าพระองค์อินทร์ในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ได้สร้างวัดนี้ขึ้นเมื่อ พ.ศ.2046 แต่ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอน
สิ่งสำคัญที่ปรากฏภายในวัดนี้ คือ พระอุโบสถและพระพุทธรูปประธานทรงเครื่องใหญ่ ซึ่งอาจจะได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในรัชกาลของ สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง หน้าบันของพระอุโบสถ เป็นไม้แกะสลักปิดทองที่แสดงรูป นารายณ์ทรงครุฑยุดนาค ประทับราหูแวดล้อมด้วยเหล่าเทวดา (ด้านหน้าพระอุโบสถมีเทวดาแวดล้อม 26 องค์ ด้านหลังพระอุโบสถมีเทวดาแวดล้อม 22 องค์ รวมเทวดา 48 องค์) คติดังกล่าวเป็นที่นิยมในสมัยโบราณที่ถือว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นสมมติเทพ คือเป็นพระนารายณ์อวตาร ดังนั้น หน้าบันของโบสถ์ วิหาร หรือปราสาทราชวังที่ พระมหากษัตริย์ทรงสร้างหรือทรงบูรณะก็มักจะทำรูปพระนารายณ์ทรงครุฑเป็นสำคัญ
สถานที่ขอหวยแม่นๆ วัดหน้าพระเมรุ หนึ่งเดียวที่รอดพ้นจากสงคราม 2566
ประวัติวัดหน้าพระเมรุ
วัดหน้าพระเมรุ นี้ปรากฏในพระราชพงศาวดาร เป็นครั้งแรกว่า ราวปี พ.ศ.2106 พระเจ้าบุเรงนอง (ภายหลังนับเป็นมหาราชองค์ที่ 2 ของพม่า) และสมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงทำสัญญาสงบศึก โดยได้ตั้งพลับพลาสำหรับเป็นที่เสด็จมาทรงทำสัญญาในระหว่างวัดหน้าพระเมรุแห่งนี้กับ วัดหัสดาวาส ซึ่งก็ได้เจรจาสงบศึกกันได้สำเร็จในที่สุด โดยกรุงศรีอยุธยายอมมอบช้างเผือก 4 ช้างให้แก่หงสาวดี มอบบุคคลที่เคยทัดทานมิให้มอบช้างเผือกแก่หงสาวดีไปเป็นตัวประกัน ยอมส่งช้างปีละ 30 เชือก และเงินอีกปีละ 300 ช่าง และยอมให้หงสาวดีมีสิทธิเก็บภาษีอากรในเมืองมะริด ฝ่ายกรุงศรีอยุธยาก็ทรงต่อรองขอดินแดนที่ฝ่ายหงสาวดียึดไว้คืนทั้งหมด ฝ่ายหงสาวดีก็ยอมคืนแต่โดยดี และถอยกลับสู่หงสาวดี สถานที่ขอหวยภาคกลาง ทำให้ครั้งนั้นพระเจ้าบุเรงนองยังไม่ได้กรุงศรีอยุธยา เป็นประเทศราช เหตุการณ์เจรจาสงบศึกได้นี้เกิดขึ้นก่อนเหตุการณ์กรุงศรีอยุธยาฯ เสียเอกราชครั้งที่ 1 ที่เกิดขึ้นในภายหลัง (ในปี พ.ศ. 2112)
อีกครั้งหนึ่งคือ ราวปี พ.ศ.2303 พระเจ้าอลองพญา (ภายหลังนับเป็นมหาราชองค์ที่ 3 ของพม่า) ได้ยกทัพเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยา และตั้งทัพหลวงไว้ตรงทุ่งพระเมรุ พระเจ้าอลองพญา ได้ทรงบัญชาการศึกและทรงสั่งการให้นำปืนใหญ่เข้ามาตั้งในเขต วัดหน้าพระเมรุพระนครศรีอยุธยา และให้จุดไฟยิงปืนใหญ่ข้ามไปยังพระราชวังหลวงฝั่งตรงข้าม ปรากฏว่าเกิดเหตุลูกปืนอุดทำให้ปืนใหญ่ระเบิดแตกออก ต้องพระวรกายของพระเจ้าอลองพญาจนสาหัส จนต้องถอยทัพและสิ้นพระชนม์เมื่อถอยยังไม่พ้นเมืองตาก เป็นอันยุติการรุกรานกรุงศรีอยุธยาไปอีกครั้งหนึ่ง เหตุการณ์ พระเจ้าอลองพญา บาดเจ็บจนต้องถอยทัพและสิ้นพระชนม์นี้เกิดขึ้นก่อนเหตุการณ์กรุงศรีอยุธยาฯ เสียเอกราชครั้งที่ 2 ที่เกิดขึ้นในภายหลัง (ในปี พ.ศ. 2310)
คาถาบูชาพระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)
พุทธนิมิตตัง อหังวันทา ขมามิหัง
พุทธนิมิตตัง สหัสสะโกติเทวตานัง
พุทธนิมิตตัง สาธุ รูปานัง
อิติสุคะโต อะระหังพุทโธ นะโมพุทธายะ
ปฐวีคงคา พระภูมะเทวา ขมามิหัง
ที่ตั้งวัดหน้าพระเมรุ
ตำบลคลองสระบัว อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13000
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ จาก : https://cbtthailand.dasta.or.th/ , https://www.papaiwat.com/